วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การติดตั้ง Joomla บน server หรือ localhost

การติดตั้ง Joomla บน server หรือ localhost 

         อย่างที่บอกไปในบทความก่อนหน้านี้แล้วว่า Joomla นั้นเป็นระบบใช้จัดการข้อมูลสำหรับทำเว็บไซต์ ดังนั้นถ้าจะใช้งาน Joomla ก็ต้องนำโปรแกรมนี้ไปลงไว้ในเครื่องที่เป็น Web Server หรือเครื่องที่ให้บริการสำหรับทำเว็บไซต์ แต่ถ้าเราสนใจอยากลองใช้งานดูก่อนจะทำยังไง ถ้าจะให้ไปเช่า hosting มาลองก็คงเป็นการเสียเงินมากเกินไป ดังนั้นมีอีกวิธีคือการจำลองเครื่องของเราให้ทำงานเหมือน server



ดังนั้นในบทความนี้จะเสนอ 2 วิธีสำหรับการติดตั้ง Joomla คือ

1. ติดตั้งสำหรับใช้บน web server (เน้นการใช้งานบน hellohosting เพราะ hosting แต่ละที่ทำงานไม่เหมือนกันดังนั้นจะเน้น hellohosting เป็นมาตราฐาน สำหรับผู้ที่ใช้งาน hosting เจ้าอื่นสามารถสอบถามได้จากผู้ให้บริการ)

2. ติดตั้งสำหรับใช้งานบนเครื่องทั่วไป สำหรับผู้ที่้ต้องการลองใช้งาน Joomla หรือบางครั้งเรียกว่า localhost

ก่อนจะติดตั้งโปรแกรมเราต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมมาก่อน โดยเราสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Joomla ได้ที่ http://www.joomla.org/download.html เลือกไฟล์ที่เขียนว่า Full Package ลืมบอกไปว่า Joomla นั้นเป็นของฟรีที่ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้ นี่อาจเป็นส่วนหนี่งที่ทำให้มีคนใช้งาน Joomla กันมาก หลังจากที่ดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้วก็ให้แตกไฟล์ Zip ออกมาจะพบว่ามีไฟล์ข้างในมากมายดังภาพด้านล่าง

การติดตั้ง Joomla บน Hellohosting

เมื่อดาวน์โหลดไฟล์มาเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านใช้โปรแกรม FTP เพื่อติดต่อกับ hosting  โดยรายละเอียดการใช้งาน รหัสผ่าน จะอยู่ในอีเมล์ที่เราได้ส่งไปให้แล้ว เมื่อโปรแกรมทำการ FTP สำเร็จแล้วจะเห็น Folder ดังภาพด้านล่าง

คลิกเข้าไปที่โฟล์เดอร์ public_html ท่านจะเห็นไฟล์ภายในดังภาพ

ลบไฟล์ที่มีอยู่ทิ้งทั้งหมด จากนั้นจึงอัพไฟล์ที่แตกไฟล์เรียกร้อยแล้วลงไปแทน ขั้นตอนนี้จะใช้เวลานานมาก เพราะไฟล์มีหลายไฟล์ กรุณาคอยจนกว่าจะอัพไฟล์เสร็จทั้งหมด ประมาณ 30 นาที หลังจากอัพไฟล์ทั้งหมดเรียบร้อยแล้วจึงจะทำขั้นตอนต่อไป

เมื่ออัพโหลดไฟล์เรียบร้อยแล้วให้เปิดไปที่เว็บไซต์ของเราจะเห็นดังรูปด้านล่าง

จากนั้นคลิกถัดไปรูปจะเป็นดังด้านล่าง

ถึงขั้นตอนนี้จะเห็นว่ามี error เกิดขึ้นให้เราไปที่โปรแกรม FTP อีกครั้งจากนั้นหาไฟล์ที่ชื่อว่า configuration.php-dist และเปลี่ยนชื่อให้เป็น configuration.php หลังจากเปลี่ยนชื่อแล้วให้คลิกขวาที่ไฟล์นั้นและเลือกที่ file permissions ดังภาพด้านล่าง

เมื่อเลือกแล้วจะมีหน้าจอขึ้นมาดังภาพด้านล่าง

ให้เราเปลี่ยนตัวเลขเป็น 777 กลับอีกครั้งโดยคลิกที่ปุ่ม "ตรวจสอบอีกครั้ง" ในส่วนของ configuaration.php จะเปลี่ยนเป็น "สนับสนุน" อย่าลืมคลิกที่ "ตรวจสอบอีกครั้ง" เพราะถ้าอาจทำให้การลงโปรแกรมผิดพลาดได้

หลังจากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม "ถัดไป" หน้าต่อไปที่ขึ้นมาคือหน้า ลิขสิทธิ์ ให้ท่านคลิกที่ปุ่มถัดไปอีกครั้ง หน้าจอจะเปลี่ยนไปเป็นดังด้านล่าง

รายละเอียดมีดังนี้

ชื่อโฮสต์ ใส่เป็น localhost

ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล กรอก Database Username ที่สร้างไว้ 

รหัสผ่าน กรอก Username Password ที่สร้างไว้

ชื่อฐานข้อมูล กรอก Database Name ที่สร้างไว้ 


หลังจากนี้ก็ถือว่าสำเร็จขั้นตอนยากๆไปหมดแล้ว เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อยให้เราคลิกที่ปุ่มถัดไป จะเป็นหน้า การตั้งค่าระบบ FTP ซื้่งไม่ต้องกรอกก็ได้ ให้เราคลิกที่ปุ่ม ถัดไป จากนั้นจะขึ้นหน้า การตั้งค่าระบบหลัก ให้กรอกรายละเอียด ชื่อเว็บไซต์ของเรา อีเมล์ที่เราใช้อยู่ รหัสผ่านที่เราจะใช้ในการแก้ไข joomla ทั้งหมดนี้เราตั้งขึ้นเอง และต้องจำเอาไว้เพื่อในไปใช้งาน joomla จากนั้นให้เราคลิกต่อไปจะเป็นดังภาพด้านล่าง

ระบบบอกให้เราลบโฟล์เดอร์ installation เราสามารถทำได้โดยไปที่โปรแกรม FTP อีกครั้ง จากนั้นหาโฟล์เดอร์ installation และลบทิ้ง หลังจากนั้นไปที่ไฟล์ configulation.php อีกครั้งคลิกขวาเลือก file permissions และเปลี่ยนจากตัวเลข 777 ให้เป็น 755 ก็เสร็จสิ้นการติดตั้ง

จากรูปด้านบน ทางขวาบนจะมี 2 ปุ่มให้เลือก คือ ดูหน้าเว็บไซต์ ปุ่มนี้จะลิงก์ไปที่ชื่อเว็บของเรา และอีกปุ่มคือ ผู้ดูแล โดยเมื่อคลิกที่ปุ่มนี้จะลิงก์ไปที่หน้าจัดการ joomla โดย username คือ admin และ password คือรหัสผ่านที่ได้ตั้งไว้ตอนติดตั้ง joomla จากขั้นตอนด้านบนที่ผ่านมา

จบขั้นตอนนี้แล้วเราก็สามารถใช้งาน joomla ได้ในระดับนึงแล้ว ให้ลองทดสอบใช้งานผ่านทางหน้า admin ดูนะครับ เพื่อสร้างความคุ้นเคย สำหรับฟังก์ชันอื่นๆที่ไม่ได้พูดไปจะมากล่าวต่อในอื่นๆถัดไปนะครับ


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น